3 แนวทางการดูแลด้าน Palliative Care ต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว

3 แนวทางการดูแลด้าน Palliative Care ต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว

เมื่อคนใกล้ตัวถูกวินิจฉัยว่าเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด? หรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต สภาพจิตใจย่อมต้องได้รับความไม่สุขสบายจนบั่นทอนคุณภาพชีวิตให้ลดลง เราจะรับมือกับความไม่สุขสบายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะด้านจิตใจของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวที่ดูแลได้อย่างไร?

 

สำหรับผู้ป่วยที่ทราบว่าตนเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดหรืออยู่ในระยะท้าย และอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ นอกจากความไม่สุขสบายทางด้านร่างกายที่ต้องได้รับการดูแล จิตใจก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญและให้การดูแลและบรรเทาความเครียด ความไม่สุขสบาย และความกังวลต่างๆที่เกิดขึ้น

การดูแลรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care จึงเป็นการดูแลรักษาที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิต โดยจัดการกับความไม่สุขสบายทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นการรักษาที่สำคัญในการเข้าไปทำความเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยและครอบครัวว่ารู้สึกอย่างไร ผู้ป่วยต้องการหรือไม่ต้องการรับการรักษารูปแบบใดบ้าง? มีความต้องการหรือความคาดหวังที่อยากจะให้ทีมแพทย์และพยาบาลเข้ามาดูแลแบบไหน? "คูน" จึงออกแบบแนวทางการรักษาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจของผู้ป่วย ดังนี้

  1. พูดคุยและรับฟังผู้ป่วยและครอบครัวที่ดูแลอย่างตั้งใจตามแนวทางการรักษาด้วยวิธี Deep Listening เพื่อบรรเทาความวิตกกังวลและความเครียดทางด้านจิตใจ โดยมุ่งเน้นไปที่การตอบสนองต่อความปรารถนาที่แท้จริงของผู้ป่วยรวมทั้งญาติที่ดูแล เพื่อสร้างความไว้วางใจและเป็นที่พึ่งทางใจเสมือนเป็นคนในครอบครัวที่พร้อมรับฟังทุกปัญหาและความต้องการอย่างเข้าใจ

  2. ออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการรักษาโดยนำธรรมชาติเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกของคูนต่างๆ เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการถ่ายทอดความไม่สุขสบายทางใจออกมา รวมทั้งจัดพื้นที่สำหรับการบำบัดที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางจิตใจของผู้ป่วยให้กลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น House of Plant สร้างพื้นที่สีเขียวที่ให้ผู้ป่วยสามารถปลูกต้นไม้ตั้งแต่การเพาะเมล็ด เฝ้าดูการเติบโต ห้อง Meditation Space ห้องทำสมาธิที่ตกแต่งด้วยโทนสีขาว ให้ความรู้สึกเบา สงบ ผ่อนคลาย เป็นต้น

  3. สร้างสรรค์กิจกรรมบำบัดต่างๆที่จะช่วยเพื่อการผ่อนคลาย บำบัด ฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น Music Therapy ที่เป็นการใช้กิจกรรมทางดนตรีมาช่วย เพื่อบำบัดอาการเจ็บป่วย บรรเทาความวิตกกังวล และลดความเครียดสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว รวมถึงการจัดดอกไม้ ใช้ความงามจากธรรมชาติดึงให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลได้อยู่กับปัจจุบัน Touch Therapy หรือ สัมผัสบำบัด คือการใช้การสัมผัสอย่างอ่อนโยนกับร่างกายผู้ป่วย เพื่อสื่อสารถึงความรัก ความห่วงใย ซึ่งทำได้หลายแบบและมีการศึกษาบ่งชี้ถึงประโยชน์อย่างชัดเจน รวมถึงการผสมกลิ่นน้ำหอม Aroma Therapy ปรับอารมณ์สร้างความผ่อนคลายด้วยการใช้กลิ่นหอมจากธรรมชาติ

 

การที่ผู้ป่วยมีสภาพจิตใจที่แข็งแรงมีความสบายทางด้านจิตใจ มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพราะเมื่อผู้ป่วยสภาพจิตใจอยู่ในช่วงที่พร้อมได้รับการรักษาตามความต้องการ และผู้ดูแลมีสภาพจิตใจที่ได้รับการจัดการให้ผ่อนคลายจากความตึงเครียด ความไม่สบายใจแล้ว จะช่วยให้การดูแลรักษาผู้ป่วยในช่วงที่ร่างกายและจิตใจเปราะบางเป็นไปได้ดีขึ้น รวมถึงผู้ป่วยจะได้รับการจัดการความไม่สุขสบายและสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้นตามความต้องการตลอดช่วงการรักษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ปรึกษาและขอคำแนะนำการดูแลรักษาด้าน Palliative Care กับ "คูน" ได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8