3 ข้อที่ควร "รู้" วิธีป้องกันการเดินผิดปกติในผู้สูงอายุ

เมื่ออายุเพิ่มขึ้นผู้สูงอายุอาจจะเกิดการบาดเจ็บหรือมีความผิดปกติที่ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากความผิดปกติทางระบบประสาท ส่งผลให้มีการเดินที่ผิดปกติไป เช่น เดินลากเท้า เดินเร็ว เดินช้า หรือไม่มีแรงที่จะยกเท้าก้าวไปทางด้านหน้า ทำให้ช่วยเหลือตนเองได้ลดลงและเสี่ยงต่อการหกล้ม ดังนั้นญาติหรือผู้สูงอายุจึงควรหมั่นสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ เพื่อหาสาเหตุในการรักษาและป้องกันได้ทันท่วงที

คลินิกกายภาพบำบัดของรพ.คูน ที่ให้บริการดูแลรักษาฟื้นฟูผู้สูงอายุ ผู้ป่วย Palliative Care ผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต อ่อนแรงครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดทางสมอง ผู้ป่วยหลังจากการผ่าตัด ผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรม เด็กและนักกีฬาแบบครบวงจร จึงขอแบ่งปันความรู้ สร้างความเข้าใจในสาเหตุและอาการของการเดินที่ผิดปกติที่มักเกิดขึ้น ตลอดจนวิธีป้องกันและแนวทางเคลื่อนไหวร่างกายของผู้สูงอายุ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพในการเดินให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติมากขึ้น

1.  รู้อาการหมั่นสังเกตความผิดปกติ คนที่ดูแลผู้สูงอายุใกล้ตัวควรใส่ใจและหมั่นสังเกตอาการเดินที่ผิดปกติที่เกิดขึ้นของผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถเข้าถึงการดูแลรักษาตั้งแต่การเริ่มมีอาการ ซึ่งแต่ละบุคคลอาจจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็น

  • ยืน หรือลุกนั่งลำบาก

  • เดินช้าลง ก้าวเท้าไปข้างหน้าลำบาก

  • สูญเสียเสียการทรงตัว

  • ไม่สามารถควบคุมการก้าวเดินได้

2. รู้สาเหตุเข้าใจอาการที่เกิดขึ้น ครอบครัวผู้ดูแลใกล้ชิดสามารถขอรับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์และนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทราบถึงสาเหตุของอาการเดินที่ผิดปกติที่เกิดขึ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่มักจะพบเจอ ประกอบด้วย

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • มีปัญหาด้านการทรงตัว

  • มีปัญหาด้านการมองเห็น ที่อาจทำให้เกิดการเดินช้ากว่าปกติ

  • ความผิดปกติของระบบประสาท

  • เคยได้รับการบาดเจ็บบริเวณขา เช่น กระดูกหัก ใส่เฝือก รวมถึงเคยได้รับการผ่าตัดใส่เหล็ก

  • มีปัญหาพังผืดบริเวณฝ่าเท้า

ตัวอย่างของการเดินที่ผิดปกติ

  • เดินแบบพาร์กินสัน เดินแบบตัวแข็ง ก้าวเท้าสั้น ซอยเท้าถี่ ตัวจะโน้มไปทางด้านหน้า ในบางครั้งผู้สูงอายุมักจะบอกว่าก้าวเท้าไม่ออกทำให้เสี่ยงต่อการหกล้ม

  • การเดินขาไขว้เหมือนกรรไกร ขาทั้ง 2 ข้างจะเกร็งและหนีบเข้าหากัน ทำให้ขาพันกันเสี่ยงต่อการหกล้ม

  • การเดินแบบปลายเท้าตก มักจะเกิดในผู้ป่วยอัมพฤตอัมพาต กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง เวลาเดินจึงต้องพยายามยกขาสูงไม่ให้ปลายเท้าชนพื้น ซึ่งถ้ายกเท้าไม่พ้นพื้นก็อาจจะทำให้สะดุดเท้าตัวเองได้

3. รู้วิธีป้องกันที่ถูกต้อง เมื่อเข้าใจถึงอาการและสาเหตุของการเดินที่ผิดปกติในผู้สูงอายุแล้ว คลินิกกายภาพบำบัดของรพ.คูน ขอแนะนำให้ผู้สูงอายุเริ่มออกกำลังกาย เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มีการเคลื่อนไหวและเกิดความคล่องตัว โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำการออกกำลังกายแบบแอโรบิกระดับปานกลาง เช่น การเดินช้า เดินเร็ว ปั่นจักรยาน หรือแม้แต่โยคะ ไทเก๊ก ไทชิ จะช่วยเสริมสร้างในเรื่องของการทรงตัว โดยใช้เวลาเพียงวันละ 30-60 นาทีในการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ อาจจะแบ่งเป็นเช้า 30 นาที เย็น 30 นาที เพื่อไม่ให้ร่างกายเหนื่อยเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและความแข็งแรงของแต่ละบุคคล

การหมั่นสังเกตอาการ ใส่ใจความผิดปกติที่เกิดขึ้น ตลอดจนการรู้วิธีป้องกันที่ถูกต้อง จะช่วยบรรเทาอาการการเดินที่ผิดปกติในผู้สูงอายุ เพื่อวางแผนป้องกันและชะลออาการการดำเนินโรค โดยสามารถติดต่อเพื่อขอรับคำปรึกษาและการดูแลจากนักกายภาพบำบัดของรพ.คูน ที่มีประสบการณ์และความรู้ที่เชี่ยวชาญ พร้อมให้บริการด้วยอุปกรณ์เครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ทันสมัยได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัดของรพ.คูน ที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและความไม่สุขสบายที่กำลังเผชิญอยู่ภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่น ใกล้ชิดธรรมชาติ เสมือนบ้านที่คุ้นเคย

สามารถศึกษาข้อมูล เพราะอะไร "คูน" ถึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของ "คุณ" ? เพื่อทราบรูปแบบการรักษาของรพ.คูน ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตและช่วงเวลาที่มีค่าของคนไข้และครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายและความปรารถนาที่แท้จริงเฉพาะบุคคลอย่างเข้มข้มครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8