4 เทคนิค Mindfulness ลดความเครียดเติมพลังใจให้ผู้ดูแล

การได้เห็นคนที่เรารักอยู่ในช่วงของการดูแลแบบประคับประคอง (Palliative Care) เป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์ ความรู้สึกที่ถาโถมเข้ามา คนในครอบครัวมักต้องแบกรับความรู้สึกที่ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา ไม่ว่าจะเป็นความเศร้า ความกลัว ความรู้สึกผิด และความรู้สึกหมดหนทาง นอกเหนือจากการดูแลในเชิงการแพทย์ที่มุ่งเน้นไปที่การดูแลความสุขสบายทางร่างกาย คนในครอบครัวที่ใกล้ชิดกับคนไข้เองก็ต้องได้รับการดูแลด้านจิตใจเช่นกัน การฝึกสติเพื่อให้จิตใจอยู่กับปัจจุบัน เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังในการบรรเทาความตึงเครียด ทำให้เรายืนหยัดอยู่กับความเป็นจริง และมีสติที่จะอยู่กับคนที่เรารักได้อย่างเต็มที่

Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ  จึงพาคุณไปรู้จัก 4 เทคนิค Mindfulness อย่างอ่อนโยน ซึ่งจะช่วยให้คุณและครอบครัวสามารถรับมือกับความรู้สึก เชื่อมโยงสร้างความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง และพบความสงบใจท่ามกลางการดูแลแบบประคับประคอง

  1. หายใจลึกๆให้จิตใจอยู่กับปัจจุบัน ในช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความกลัวหรือความเศร้า การหายใจของเรามักจะตื้นและสั้น การฝึกหายใจลึกๆเพียง 3–5 นาที ก็สามารถช่วยให้ระบบประสาทให้สงบลงได้ ลองใช้เทคนิค 4-7-8 คือ สูดหายใจเข้า 4 วินาที กลั้นหายใจ 7 วินาที แล้วผ่อนลมหายใจออก 8 วินาที วิธีนี้จะช่วยลดความวิตกกังวลและนำคุณกลับมาอยู่กับปัจจุบันได้อย่างอ่อนโยน เทคนิคง่ายๆนี้เหมาะสำหรับใช้ในช่วงเวลาเยี่ยมคนไข้หรือระหว่างรอฟังข่าวจากบุคลากรทางการแพทย์

  2. สแกนร่างกายผ่อนคลายความตึงเครียด ผู้ดูแลมักสะสมความเครียดไว้ในร่างกาย เช่น ขากรรไกรที่กัดแน่น ไหล่ที่ยกสูง หรือแผ่นหลังที่เกร็ง การสแกนร่างกาย คือ การค่อยๆ รับรู้ความรู้สึกในแต่ละส่วนของร่างกายของเรา ตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า พร้อมกับผ่อนคลายบริเวณที่ตึงเครียด วิธีนี้ช่วยให้เราตระหนักถึงร่างกายและปลดปล่อยความเครียดได้อย่างมีสติ ซึ่งสามารถเริ่มฝึกได้เงียบๆ ข้างเตียงคนไข้หรือในช่วงเวลาที่อยู่คนเดียว

  3. ทำสมาธิด้วยเมตตา เติมพลังใจให้ตนเองและคนรอบตัว ในช่วงของการดูแลแบบประคับประคอง อารมณ์ของผู้ดูแลอาจมีพลังงานเชิงลบเกิดขึ้น เช่น การโทษตัวเอง ความเสียใจ หรือความรู้สึกไร้พลัง การทำสมาธิด้วยเมตตา (Loving-kindness meditation) เป็นการเปลี่ยนพลังลบเหล่านั้นให้กลายเป็นความห่วงใยที่มีพลัง ลองพูดในใจเบาๆ ว่า "ขอให้ฉันมีความสงบ" "ขอให้คนที่ฉันรักปลอดภัย" "ขอให้พวกเราทุกคนมีความสุข" การฝึกเช่นนี้จะช่วยปลอบประโลมใจและลดความเครียดทางอารมณ์ได้อย่างลึกซึ้ง

  4. สังเกตตัวเองอย่างมีสติ ค้นหาความงดงามในแต่ละวัน ความเครียดมักทำให้จิตใจโฟกัสไปยังความกลัวในอนาคต การสังเกตตัวเองอย่างมีสติ ช่วยดึงจิตใจกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ลองสังเกตธรรมชาติรอบตัว เช่น แสงแดดที่ส่องเข้ามาในห้อง ลมหายใจเข้าออกของคนที่คุณรัก หรือแม้แต่ความอบอุ่นจากการจับมือกัน สิ่งเหล่านี้อาจดูเล็กน้อย แต่เมื่อเรารับรู้ด้วยใจอย่างแท้จริงจะเป็นพลังที่ปลอบประโลมลึกถึงจิตใจได้อย่างดี

การทำ Mindfulness จึงไม่ได้หมายถึงการปฏิเสธความโศกเศร้า แต่คือการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้ความรู้สึกเหล่านั้นได้ดำรงอยู่ โดยไม่ตัดสินหรือกดทับความรู้สึกเหล่านั้น ในเส้นทางของการดูแลแบบประคับประคอง การที่คุณได้ใส่ใจและดูแลสุขภาพจิตใจของตัวเอง (Self Care) คือ สิ่งเยียวยาทั้งตัวคุณและคนที่คุณรัก โดยคุณสามารถสร้างช่วงเวลาที่สงบและมีคุณค่า แม้ในวันที่เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและอยู่ในช่วงเวลาที่เปราะบางก็ตาม

สามารถศึกษาข้อมูล เพราะอะไร "คูน" ถึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของ "คุณ" ? เพื่อทราบรูปแบบการรักษาของรพ.คูน ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตและช่วงเวลาที่มีค่าของคนไข้และครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายและความปรารถนาที่แท้จริงเฉพาะบุคคลอย่างเข้มข้มครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8