รู้ทัน 4 พฤติกรรมเสี่ยงป้องกันมะเร็งลำไส้

มะเร็งลำไส้ เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่ส่งผลต่อชีวิตคนทั่วโลก โดยสถาบันการวิจัยมะเร็งนานาชาติ (International Agency for Research on Cancer) ได้มีการประเมินและวิเคราะห์ถึงจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นถึง 69% หรือกว่า 1.6 ล้านคนภายในปี 2040 นอกจากนี้กรมการแพทย์ระบุว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ยังเป็น 1 ใน 5 ของมะเร็งที่พบมากในคนไทย มีอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ปัจจุบันมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่ประมาณ 16,000 คนต่อปี เป็นเพศชายและหญิงราว 8,658 และ 7,281 คน ตามลำดับ และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,500 คนต่อปี ดังนั้นการตระหนักรู้และเข้าใจถึงพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้ชีวิตที่ส่งผลให้เกิดโรคมะเร็งลำไส้จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหรือชะลอการดำเนินโรค เพื่อวางแผนการดูแล รักษาและป้องกันให้กับคนใกล้ตัวที่คุณรักได้

4 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ที่คุณควรรู้

ในปัจจุบันพฤติกรรมการใช้ชีวิตมีผลต่อสุขภาพร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งคนส่วนใหญ่มักเพิกเฉย ไม่ระมัดระวังในการใช้ชีวิต เพราะคิดว่ามะเร็งเป็นเรื่องไกลตัวและมองข้ามจนทำให้เกิดการละเลยต่อการใส่ใจสุขภาพร่างกาย เพื่อป้องกันและรู้เท่าทันความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องตระหนักและเข้าใจถึงสัญญาณเตือนต่างๆ เพื่อวางแผนป้องกันและดูแลสุขภาพได้ดังนี้

  1. การรับประทานอาหารในกลุ่มเนื้อแดงและเนื้อแปรรูปที่ปิ้งย่างไหม้เกรียม อาหารที่มีไขมันสูง/อาหารฟาสฟูดส์ต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่เพิ่มความเสี่ยงและโอกาสในการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ จึงควรหันมาเริ่มรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง และไขมันต่ำ ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้ และอาหารที่ไม่ผ่านกระบวนการผลิตมากเกินไป เช่น ขนมปังโฮลวีตหรือข้าวกล้องแทนขนมปังขาว รวมถึงกินอาหารจำพวกธัญพืชเป็นประจำ

  2. ไม่ออกกำลังกาย เมื่อขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และมีพฤติกรรมการกินที่ไม่เหมาะสม ย่อมส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคทางเดินอาหารและลำไส้ที่อาจเกิดเป็นมะเร็งทางเดินอาหารและลำไส้ในอนาคต จึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่ต้องหันมาเริ่มออกกำลังกายอย่างเป็นประจำ โดยสามารถเริ่มได้จากการออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที เช่น เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน เป็นต้น

  3. สูบบุหรี่เป็นประจำ สารก่อมะเร็งในบุหรี่มักจะเร่งให้เกิดเซลล์มะเร็งได้ทุกชนิด ดังนั้นหากมีพฤติกรรมเสี่ยงหรือเคยมีประวัติเป็นมะเร็งลำไส้ในครอบครัว และยังมีพฤติกรรมสูบบุหรี่เป็นประจำยิ่งทำให้โอกาสเกิดเซลล์มะเร็งเร็วขึ้นไปอีก ดังนั้นจึงควรเริ่มลดและเลิกการสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันและชะลอการทำให้เซลล์มะเร็งลุกลามขึ้น

  4. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อมูลของ American Cancer Society ระบุว่าการดื่มแอลกอฮอลล์ 2 ครั้ง/วัน เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดมะเร็งลำไส้ จึงควรลดละเลิกการดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและลดผลกระทบของความรุนแรง

สอบถามข้อมูลการรักษาและรับคำปรึกษาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ จาก Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) ที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ ผ่าน 4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรักษาแบบ Palliative Care เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเวลาที่ดีสำหรับคนไข้และครอบครัว

Reference:

American Cancer Society. (2021). Colorectal cancer risk factors.

Colorectal Cancer Awareness Month 2022

กรมการแพทย์. มีนาคม ร่วมใจต้านภัยมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

ปรึกษาและขอคำแนะนำการดูแลรักษาด้าน Palliative Care และการดูแลผู้สูงอายุกับคลินิกผู้สูงอายุ ที่ "คูน" ได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8