4 วิธีลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ

ด้วยจำนวนประชากรสูงวัยที่เพิ่มขึ้น โรคอัลไซเมอร์จึงกลายเป็นความกังวลที่สำคัญจากข้อมูลของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุขพบว่ากลุ่มที่มีอายุราว 65 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 5 กลุ่มผู้ที่มีอายุราว 75 ปี พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์ประมาณร้อยละ 15 และกลุ่มผู้ที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป พบผู้ป่วยอัลไซเมอร์มากถึงร้อยละ 40 บทบาทของผู้ดูแลจากคนในครอบครัวจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการให้การสนับสนุนคนที่รัก และช่วยป้องกันและชะลอความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุเป็นอย่างยิ่ง

Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ จึงขอนำเสนอเคล็ดลับและแนวทางที่ผู้ดูแลจากคนในครอบครัวสามารถนำไปปรับใช้ เพื่อดูแลสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจให้ผู้สูงอายุและยกระดับคุณภาพชีวิตแบบองค์รวม ซึ่งจะส่งผลต่อการป้องกันและชะลอการดำเนินของโรคอัลไซเมอร์

4 แนวทางการดูแลสุขภาพกายใจลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุ

  1. หมั่นออกกำลังกายทำกิจกรรมที่ชื่นชอบอย่างสม่ำเสมอ เลือกกิจกรรมที่เหมาะสมที่สามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุที่คุณรักขยับร่างกายและกระตุ้นสมองเป็นประจำผ่านการออกกำลังกายง่ายๆอย่างสม่ำเสมอ เช่น เดิน ยืด เหยียดสไตล์โยคะเบาๆ หรือออกกำลังกายบนเก้าอี้ โดยสามารถกำหนดตารางการออกกำลังกายเป็นกิจวัตรประจำวัน เพื่อสร้างวินัยและความสม่ำเสมอ อีกทั้งยังเสริมสร้างแรงจูงใจและให้การสนับสนุนกิจกรรมที่ผู้สูงอายุใกล้ตัวชื่นชอบ เช่น ปลูกต้นไม้ เต้นรำ หรือว่ายน้ำ เป็นต้น

  2. กระตุ้นความคิดและความทรงจำเป็นประจำ กระตุ้นให้ผู้สูงอายุได้ใช้ความคิดด้วยกิจกรรมที่สนุกและท้าทาย เช่น การต่อจิ๊กซอว์ เกมฝึกสมอง หรือการเล่าเรื่องราวต่างๆที่อยู่ในความทรงจำ นอกจากนี้ยังสามารถให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่น การอ่านหนังสือ เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ หรือค้นหางานอดิเรก ชวนท่านพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือเข้าร่วมโครงการเรียนรู้ต่างๆ โดยอาจจะหาโอกาสให้ผู้สูงอายุมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับสมาชิกในครอบครัว เพื่อน ชมรมต่างๆ หรือทำบุญ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สมองแจ่มใสและสุขภาพทางใจเบิกบานและมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้น

  3. บำรุงสุขภาพด้วยอาหารที่ดีและมีประโยชน์ เติมอาหารสมองให้ครบถ้วนครบมื้อครบหมู่ด้วยอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ อุดมไปด้วยสารอาหารที่ช่วยบำรุงสมองแก่ผู้สูงอายุ เช่น ผลไม้ ผัก ธัญพืชไม่ขัดสี เนื้อสัตว์ไขมันต่ำและไขมันที่ดีต่อสุขภาพ นอกจากนี้ควรลดปริมาณอาหารแปรรูป ขนมหวาน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งอาหารเหล่านี้ส่งผลเสียต่อการทำงานของสมอง อีกทั้งควรดูแลให้ผู้สูงอายุได้รับน้ำอย่างเพียงพอ ควบคู่กับการรับประทานอาหารที่ครบถ้วน เพื่อเสริมสร้างสุขภาพกายและใจที่ดีและแข็งแรง

  4. ดูแลสร้างเสริมสุขภาพใจที่ดี ส่งเสริมสุขภาวะทางจิตใจที่ดีของผู้สูงอายุ ผ่อนคลายความเครียดและความวิตกกังวลต่างๆด้วยการฝึกบริหารจิตใจ กำหนดลมหายใจ เช่น การฝึกหายใจลึก ๆ  การทำสมาธิ รวมไปถึงการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับการพักผ่อนภายในบ้าน ตกแต่งให้เงียบสงบที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย

การดูแลผู้สูงอายุมิได้หมายถึงเพียงการช่วยเหลือด้านร่างกายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมการดูแลสุขภาพทางจิตใจที่ดีในการป้องกันความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ ให้ผู้ดูแลซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ เพื่อเสริมพลังให้ผู้สูงอายุที่คุณรัก ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข พร้อมทั้งลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ โดยผู้ดูแลสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมสุขภาวะทางใจที่ดีและแข็งแกร่งของผู้สูงอายุ ซึ่งทุกความเอาใจใส่และความห่วงใยของผู้ดูแล ล้วนส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีและเหมาะสมให้แก่คนที่คุณรักได้

สามารถศึกษาข้อมูล เพราะอะไร "คูน" ถึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของ "คุณ" ? เพื่อทราบรูปแบบการรักษาของรพ.คูน ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตและช่วงเวลาที่มีค่าของคนไข้และครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายและความปรารถนาที่แท้จริงเฉพาะบุคคลอย่างเข้มข้มครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8