5 ข้อดีของ Family Meeting ต่อการรักษา Palliative Care

การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care ที่ช่วยให้เข้าใจความต้องการ ความปรารถนา ความคิดอารมณ์ และความรู้สึกต่างๆของคนไข้ รวมถึงสมาชิกในครอบครัว การส่งเสริมการสื่อสารด้วยความเข้าใจ (Deep communication) ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการวางแผนและออกแบบการดูแลรักษาที่ตอบสนองต่อความต้องการที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ Family Meeting หรือการประชุมปรึกษาในครอบครัว จึงเป็นเครื่องมือซึ่งช่วยให้ครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์เข้าใจถึงเป้าหมายการรักษาที่ถูกต้องและชัดเจน

ความสำคัญของกระบวนการ Family Meeting

กระบวนการ Family Meeting หรือการประชุมปรึกษาในครอบครัว เป็นหนึ่งในขั้นตอนการวางแผนการดูแลรักษาคนไข้ร่วมกับครอบครัวที่ Koon "คูน" รพ. เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในด้านการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care แห่งแรกของประเทศไทย ให้คำปรึกษาและดูแลรักษาด้านการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care แก่คนไข้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงต่างๆ ที่บั่นทอนคุณภาพชีวิตของคนไข้และทำให้ร่างกายเสื่อมถอยลงจนลดทอนวันเวลาในชีวิตของคนไข้ ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม ไม่ว่าจะเป็นโรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ ได้ออกแบบกระบวนการและแนวทางการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care เพื่อให้มั่นใจและคำนึงถึงความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้และครอบครัวครอบคลุมทั้งในเรื่องร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ตั้งแต่การประเมินความต้องการและเป้าหมายในการรักษาของคนไข้ทั้งร่างกายและจิตใจ การประสานงานและกำหนดบุคคลที่เกี่ยวข้องทุกคนให้เข้าสู่กระบวนการการทำ Family Meeting การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ เช่น ร่วมจัดทำ Advance Care Planning บันทึกข้อมูลอาการป่วยและการดำเนินโรคของคนไข้ เป้าหมายในการรักษา การจัดการกับอาการเจ็บปวด การดูแลสุขภาพจิตใจและอารมณ์ รวมถึงการทำ Living Will เป็นต้น

ประโยชน์ของ Family Meeting ต่อกระบวนการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care)

Family Meeting หรือการประชุมปรึกษาในครอบครัว เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การวางแผนและดูแลรักษาสามารถตอบสนองต่อความต้องการและเป้าหมายในการรักษาของคนไข้และครอบครัว ซึ่งมีส่วนช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์และบุคคลที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน Koon "คูน" ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของกระบวนการสื่อสารที่คำนึงถึงความต้องการและความปรารถนาของบุคคลที่เกี่ยวข้อง จึงออกแบบกระบวนการ Family Meeting เพื่อมุ่งเน้นการสร้างประโยชน์ในการทำให้คุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวดียิ่งขึ้นในหลายมิติ ดังนี้

  1. สร้างความเข้าใจร่วมกันในครอบครัว กระบวนการทำ Family Meeting เป็นพื้นที่ที่ครอบครัวสามารถรับฟังด้วยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้นเกี่ยวกับอาการของคนไข้ การดำเนินโรค ตลอดจนเป้าหมายและแนวทางการดูแลรักษา การพูดคุยแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความคิดเห็นร่วมกันทำให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและมีความละเอียดรอบคอบสอดคล้องกับความต้องการและความปรารถนาที่แท้จริงของคนไข้และครอบครัวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

  2. แลกเปลี่ยนบทสนทนาที่ชัดเจนและเปิดเผย การสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและแบ่งปันบทสนทนาที่เปิดเผยระหว่างกันในครอบครัวผ่าน Family Meeting ทำให้เกิดการสร้างพื้นที่ของการพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่องที่วิตกกังวล ความเครียด และความคาดหวังได้อย่างเปิดเผย ในขณะเดียวกันแพทย์ นักกิจกรรมบำบัดผู้เชี่ยวชาญสามารถให้การสนับสนุน คำแนะนำและคำปรึกษาได้อย่างครบถ้วนและชัดเจนเกี่ยวกับการดูแลความไม่สุขสบายทางด้านร่างกายและจิตใจของคนไข้และครอบครัวได้อย่างถูกต้อง ตรงตามความต้องการ

  3. เพิ่มโอกาสในการตัดสินใจร่วมกัน การดูแลรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care การตัดสินใจต่างๆที่เกี่ยวข้องกับข้อวินิจฉัยทางการแพทย์ ความไม่สุขสบายทางด้านร่างกายและจิตใจที่ซับซ้อน การประชุมปรึกษาในครอบครัว (Family Meeting) ได้เพิ่มโอกาสในการสนับสนุนการตัดสินใจร่วมกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความปรารถนาและความต้องการของคนไข้และครอบครัวที่จำเป็นต้องได้รับการใส่ใจและเคารพในความต้องการที่แท้จริงเหล่านั้น

  4. สนับสนุนสุขภาวะทางอารมณ์ที่ดี การรับมือกับสถานการณ์ในการดูแลแบบประคับประคองแก่คนที่เรารักอาจเป็นเรื่องที่หนักหน่วงและสร้างความเครียดทางอารมณ์ กระบวนการทำ Family Meeting จะช่วยเปิดพื้นที่ให้ครอบครัวสามารถแบ่งปันภาระและข้อจำกัดทางอารมณ์ต่างๆ เพื่อสามารถรับการสนับสนุน คำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้อย่างใกล้ชิด ทำให้สภาพอารมณ์จิตใจของคนไข้และครอบครัวได้รับการเยียวยาอย่างถูกต้องและเหมาะสม

  5. จัดการและป้องกันความขัดแย้งอย่างเหมาะสม การตัดสินใจในเรื่องราวต่างๆสำหรับการดูแลแบบประคับประคองอาจนำไปสู่ความขัดแย้งภายในครอบครัว การประชุมปรึกษาในครอบครัว (Family Meeting) จึงเป็นเครื่องมือในการเสนอแนวทางการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างเป็นมิตรและเหมาะสม ช่วยให้คนไข้ ครอบครัวและบุคลากรทางการแพทย์ได้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนและพูดคุยกัน เพื่อหาจุดยืนร่วมกันพร้อมให้ความสำคัญกับคุณภาพชีวิตที่ดีและเหมาะสมที่สุดให้กับคนไข้

Family Meeting หรือการประชุมปรึกษาในครอบครัว จึงไม่ใช่เพียงแค่เครื่องมือเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อทุกชีวิตที่อยู่ในกระบวนการรักษาแบบประคับประคอง (Palliative Care) การส่งเสริมการสื่อสารอย่างเปิดเผยและเห็นอกเห็นใจ จะช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์มั่นใจได้ว่าคนไข้จะได้รับการดูแลที่เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพิ่มความสะดวกสบายและความราบรื่นในการปฏิบัติงาน และยกระดับคุณภาพชีวิตในช่วงเวลาที่เปราะบางของคนไข้ให้ดีที่สุด เพราะการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจความต้องการความปรารถนาที่แท้จริงเป็นหัวใจสำคัญในการส่งมอบการดูแลรักษาที่เหมาะสมและดีที่สุดให้แก่คนไข้และครอบครัว

สามารถศึกษาข้อมูล เพราะอะไร "คูน" ถึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของ "คุณ" ? เพื่อทราบรูปแบบการรักษาของรพ.คูน ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตและช่วงเวลาที่มีค่าของคนไข้และครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายและความปรารถนาที่แท้จริงเฉพาะบุคคลอย่างเข้มข้มครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8

References:

"The Role of Family Meetings in Palliative and Hospice Care: A Systematic Literature Review" by Rony Dev, MSc, et al., published in the American Journal of Hospice and Palliative Medicine (2016).