รู้ทัน! 5 สัญญาณหมดไฟในใจผู้ดูแล และวิธีฟื้นฟูพลังใจด้วยความอ่อนโยน

การดูแลคนที่คุณรักในช่วงสุดท้ายของชีวิต คือหนึ่งในการแสดงความรักที่ลึกซึ้งและมีความหมายที่สุดในชีวิตของคนๆหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกัน ก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจของผู้ดูแลเป็นอย่างยิ่ง หลายครั้งที่ผู้ดูแลมักมองข้าม ละเลย ดูแลใส่ใจในการดูแลสุขภาพใจของตัวเอง จนเกิดความเหนื่อยล้าที่เกินกว่าจะรับไหว

Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ จึงอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับ 5 สัญญาณหมดไฟที่เกิดขึ้นในใจผู้ดูแล พร้อมแนวทางดูแลสุขภาพใจของตัวเองอย่างอ่อนโยนและเต็มไปด้วยความเมตตาด้วยความรักและความเข้าใจ

1. เหนื่อยล้าแม้จะพักผ่อนแล้วก็ตาม ความรู้สึกเหนื่อยล้าเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้น แต่หากการนอนหลับหรือการพักผ่อนไม่สามารถฟื้นฟูพลังกายและพลังใจได้ อาจเป็นสัญญาณของความเหนื่อยล้าทางสภาพอารมณ์และจิตใจ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของภาวะหมดไฟในผู้ดูแล ความเหนื่อยล้ารูปแบบนี้ไม่ใช่แค่ทางร่างกาย แต่ยังส่งผลต่อสมาธิ ความอดทน และความสามารถในการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น ดังนั้นคุณสามารถเริ่มจากการอนุญาตให้ตัวเองได้พักผ่อนอย่างเต็มที่โดยไม่ต้องรู้สึกผิด และหาช่วงเวลาที่สงบสบายใจได้ผ่อนคลายสั้นๆในแต่ละวัน

2. หงุดหงิดง่าย และไม่รู้สึกอะไร ภาวะหมดไฟนี้มักแสดงออกมาในรูปของความหงุดหงิดหรือไม่รู้สึกดีใจ เสียใจ หรือเศร้า ไม่อยากรู้สึกอะไรอีกแล้ว เพราะเหนื่อยจนไม่มีแรงจะรับมือกับอารมณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นวิธีที่สมองพยายามรับมือกับความเครียดสะสมทางอารมณ์ ซึ่งไม่ใช่ความอ่อนแอ แต่นี่คือสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาที่คุณอาจจะต้องใส่ใจและดูแลตัวเอง ค่อยๆ รับฟังตนเองด้วยความเข้าใจ เขียนไดอารี่เพื่อบันทึกความรู้สึกในแต่ละวัน หรือพูดคุยกับคนที่คุณไว้ใจและสบายใจ แม้เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ก็ช่วยให้ดีขึ้นได้

3. ความรู้สึกผิดที่ “ยังทำได้ไม่ดีพอ” แม้จะพยายามทุ่มเททุกสิ่งที่มี แต่ความรู้สึกว่า "ยังไม่เพียงพอ" ยังคงหลอกหลอน ซึ่งความรู้สึกผิดในผู้ดูแลนี้มักพบได้บ่อย โดยเฉพาะในบริบทของการดูแลผู้ป่วยระยะท้าย ซึ่งเกิดจากความคาดหวังที่เกินจริงและความเหนื่อยล้าทางใจ โดยให้พูดกับตัวเองด้วยความอ่อนโยน—แค่ประโยคว่า "วันนี้ฉันทำดีที่สุดแล้ว" เพื่อสร้างพลังใจเชิงบวกและยอมรับกับอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดขึ้นให้แก่ตัวเอง

4. หลีกเลี่ยงการติดต่อหรือทำกิจกรรมที่รัก หากคุณเริ่มไม่รับโทรศัพท์ ไม่อยากพบใคร หรือหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมที่เคยทำให้มีความสุขและสบายใจ อาจเป็นสัญญาณของภาวะหมดไฟ การหลีกหนีจากสังคมเป็นกลไกหนึ่งของสมองในการปกป้องตัวเองจากความเครียดและความเหนื่อยล้า แต่คุณไม่จำเป็นต้องเผชิญกับสภาวะนี้เพียงลำพัง ลองค่อยๆ กลับมาเชื่อมโยงกับคนรอบตัวอีกครั้ง เช่น ส่งข้อความหาเพื่อน หรือเข้ากลุ่มพูดคุยกับผู้ดูแลคนอื่นๆ ก็จะช่วยให้คุณมีพลังกายและใจมากขึ้นได้เช่นกัน

5. สูญเสียความเป็นตัวเองหรือความสุขในชีวิต เมื่อการดูแลคนที่รักกลายเป็นทุกสิ่งทุกอย่างจนคุณลืมสิ่งที่เคยทำให้คุณมีความสุข หรือลืมว่าคุณเป็นใครก่อนหน้านี้อาจจะเป็นหนึ่งในสัญญาณที่เจ็บปวดที่สุดของภาวะหมดไฟ ลองค่อยๆ ดึงตัวตนเดิมของคุณกลับมา ผ่านกิจกรรมเล็กๆ ที่ทำเพื่อตัวคุณเองบ้าง เช่น ฟังเพลง ระบายสี หรือดูรายการโปรด ความสุขเล็กๆ ของคุณ ก็มีความหมายและสำคัญไม่แพ้กัน

ภาวะหมดไฟไม่ได้แปลว่าคุณกำลังล้มเหลว แต่กำลังบอกว่าคุณได้ทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างโดยแทบไม่เคยได้หยุดพักหรือใส่ใจกับตัวเองมากเพียงพอ การรับรู้ถึงสัญญาณเหล่านี้ตั้งแต่เนิ่นๆ และเลือกที่จะเมตตากับตัวเอง จะช่วยปกป้องสภาพร่างกายและจิตใจของคุณ อีกทั้งยังสามารถดูแลคนที่รักด้วยความรักและความเข้าใจ ดังนั้นอย่าลืมว่า...การดูแลตัวเองไม่ใช่ความเห็นแก่ตัว แต่มันคือส่วนหนึ่งของการดูแลผู้อื่นเช่นเดียวกัน

สามารถศึกษาข้อมูล เพราะอะไร "คูน" ถึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของ "คุณ" ? เพื่อทราบรูปแบบการรักษาของรพ.คูน ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตและช่วงเวลาที่มีค่าของคนไข้และครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายและความปรารถนาที่แท้จริงเฉพาะบุคคลอย่างเข้มข้มครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8