5 สัญญาณเตือนภาวะสมองเสื่อม

องค์การอนามัยโลกระบุว่า โรคสมองเสื่อม(Dementia) เป็นภาวะที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคนทั่วโลกสูงถึง 55 ล้านคนและในแต่ละปีมีผู้ที่ป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 10 ล้านคน รวมถึงประเทศไทยที่กำลังก้าวเข้าสูงสังคมผู้สูงอายุ ซึ่งโรคสมองเสื่อมส่งผลให้เกิดความเสื่อมสภาพของความจำ การคิด และพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจากสภาพร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา แม้ว่าโรคสมองเสื่อมจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่หากได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็วที่สุดจะช่วยลดความรุนแรงของโรคและเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และผู้ดูแลให้ดีขึ้น

คลินิกผู้สูงอายุของ "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาโรคสมองเสื่อม รวมถึงการรักษาแบบ Palliative Care (แบบประคับประคอง) ที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ ได้รวบรวม 5 สัญญาณเตือนของโรคสมองเสื่อมที่สามารถสังเกตจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของบุคคลใกล้ตัวที่คุณรักได้ดังนี้

  1. ความจำระยะสั้นไม่ดีอย่างที่เคยเป็น เริ่มมีอาการหลงลืมหรือความสามารถในการจดจำข้อมูลต่างๆในชีวิตประจำวันลดลง เช่น ชื่อ วันที่ เป็นต้น 

  2. ทำบางอย่างซ้ำๆ ถามซ้ำๆในเรื่องเดิม หรือ ย้ำคิดย้ำทำในเรื่องต่างๆในกิจวัตรประจำวันอยู่เป็นประจำ

  3. สื่อสารบกพร่อง ผู้ที่มีความเสี่ยงในภาวะสมองเสื่อมมักเริ่มมีปัญหาในการเลือกใช้คำศัพท์สำหรับการสื่อสารได้ยากลำบากมากขึ้น นอกจากนี้บางรายมีปัญหาในการแสดงออกทางคำพูดและความคิด

  4. อารมณ์แปรปรวน ภาวะสมองเสื่อมมักส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของผู้ที่เผชิญกับโรคให้มีความเปลี่ยนแปลงไป เช่น หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียว วิตกกังวล รวมถึงมีภาวะซึมเศร้า มีโลกส่วนตัว และไม่ค่อยเข้าสังคม

  5. ทำกิจวัตรประจำวันได้ยากลำบาก เริ่มใช้ชีวิตประจำวันได้อยากลำบากและไม่ดีอย่างที่เคย เช่น อาบน้ำ ใส่เสื้อผ้า ทำอาหาร หรือบางรายเริ่มคิดคำนวณตัวเลข หรือใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้ไม่คล่องอย่างที่เคย

ซึ่งหากคุณหรือคนที่คุณรักเริ่มพบ 5 สัญญาณเตือนเหล่านี้ จำเป็นต้องเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ทันที โดย คลินิกผู้สูงอายุของ "คูน" พร้อมให้บริการดูแลผู้สูงอายุด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาทางโภชนาการ รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ด้วยการวางแผนแนวทางการรักษาแบบปัจเจกบุคคล ให้ตรงกับความต้องการของแต่ละท่าน เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ครบทุกมิติ

Reference:

Alzheimer's Association. (2021). 10 Warning Signs of Alzheimer 

National Institute on Aging. (2021). Dementia: Signs, Symptoms, and Causes 

Mace, N. L., & Rabins, P. V. (2017). The 36-hour day: A family guide to caring for people with Alzheimer disease, other dementias, and memory loss in later life. JHU Press.

ปรึกษาและขอคำแนะนำการดูแลรักษาด้าน Palliative Care และการดูแลผู้สูงอายุกับคลินิกผู้สูงอายุ ที่ "คูน" ได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8