5 วิธีสร้างการสื่อสารที่ดีของครอบครัวกับคนไข้ Palliative Care

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นหัวใจสำคัญในการดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตและสร้างช่วงเวลาที่มีคุณค่าให้แก่คนไข้ในทุกระยะที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือโรคที่รักษาไม่หายขาด โดยเฉพาะบทบาทของผู้ดูแล (Caregiver) ซึ่งเป็นสมาชิกในครอบครัวที่ทำหน้าที่สื่อสารและเป็นกระบอกเสียงแทนคนไข้ การเข้าใจเนื้อหาที่ถูกต้องของคำพูด และการสื่อสารที่คำนึงและใส่ใจถึงคนไข้เป็นศูนย์กลาง (Patient-centered communication) ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญ

Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ ให้ความสำคัญของการสื่อสารที่ถูกต้องในการดูแลแบบประคับประคอง พร้อมทั้งแนะนำเทคนิคการเสริมสร้างทักษะการสื่อสารให้แก่ผู้ดูแล เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่อบอุ่นและให้กำลังใจ อีกทั้งเข้าใจความต้องการ ความปรารถนาของคนไข้มากยิ่งขึ้น

5 เทคนิคการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเสริมสร้างความเข้าใจร่วมกัน

การสื่อสารแบบผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient-centered communication) คือ พื้นฐานสำคัญของการดูแลแบบประคับประคองที่มีคุณภาพ หัวใจสำคัญของแนวทางนี้คือ การตั้งใจฟังความต้องการ จุดมุ่งหมาย และความกังวลของคนไข้ตามแนวทาง Deep Listening ที่รพ.คูนออกแบบและปรับรูปแบบการสื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลสำหรับผู้ดูแลในครอบครัว การนำแนวทางนี้ไปปรับใช้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อยึดถือความสะดวกสบาย ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้และครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ

นอกจากนี้ความไว้วางใจ เป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ดูแลกับคนไข้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการดูแลแบบประคับประคอง ผู้ดูแลในครอบครัวสามารถสร้างความไว้วางใจได้ด้วยการเป็นผู้ที่พึ่งพาได้ ซื่อสัตย์ และสื่อสารด้วยความเคารพ แสดงความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ดูแลสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้กับคนไข้ สร้างให้เกิดพื้นที่ปลอดภัย เพื่อทำให้คนไข้รู้สึกสบายใจที่จะเปิดเผยความรู้สึกและความกังวลได้อย่างตรงไปตรงมา โดยแนวทางการสื่อสารที่รพ.คูน แนะนำให้ผู้ดูแลในครอบครัวสามารถนำไปปรับใช้สื่อสาร มีดังนี้

  1. การรับฟังอย่างตั้งใจ (Deep Listening) ส่งเสริมให้ผู้ดูแลตั้งใจฟังคนไข้ โดยการแสดงความใส่ใจ ยอมรับความรู้สึกและความกังวลโดยปราศจากการตัดสิน

  2. แสดงความเห็นอกเห็นใจและความเมตตา (Empathy and Compassion) พัฒนาความเห็นอกเห็นใจแก่คนไข้ แสดงความเข้าใจและให้การสนับสนุนในช่วงเวลาที่ยากลำบาก

  3. ใช้ภาษาที่สั้น ง่าย และชัดเจน (Clear and Simple Language) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ในการอธิบายข้อมูลทางการแพทย์และทางเลือกในการรักษา เพื่อให้แน่ใจว่าคนไข้และครอบครัวเข้าใจข้อมูลที่ได้รับอย่างถูกต้องและชัดเจน คลิกอ่าน 4 เคล็ดลับวิธีสื่อสารเมื่อรู้ว่าคนใกล้ตัวป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย 

  4. ส่งเสริมให้เกิดการถามคำถาม (Encouraging Questions) สร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้าง ให้คนไข้รู้สึกสบายใจที่จะถามคำถาม แสดงความกังวล ความต้องการและความปรารถนาอย่างตรงไปตรงมา

  5. เคารพสิทธิการตัดสินใจของคนไข้ (Respecting Patient Autonomy) ยอมรับและเคารพสิทธิในการตัดสินใจของคนไข้ ส่งเสริมให้มีอำนาจในการตัดสินใจ เลือกสิ่งที่สอดคล้องกับคุณค่าและความต้องการของตนเองที่แท้จริง

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสำหรับการดูแลแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care ไม่ได้หมายถึงแค่การแลกเปลี่ยนข้อมูลเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการสร้างความไว้วางใจ ความเห็นอกเห็นใจ  และความเข้าใจร่วมกันระหว่างคนไข้ และครอบครัว ด้วยการพัฒนาทักษะการสื่อสารและยึดแนวทางคนไข้เป็นศูนย์กลางมาประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ดูแลในครอบครัวที่ใกล้ชิดซึ่งสามารถสร้างความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไข้ในงานดูแลแบบประคับประคอง คำพูดจึงมีพลังในการเยียวยา ปลอบโยน และเสริมสร้างกำลังใจ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในกระบวนการดูแลคนไข้ในทุกระยะที่ป่วยเป็นโรคร้ายแรงหรือโรคที่รักษาไม่หายขาดให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณที่ดีอย่างครบทุกมิติ

สามารถศึกษาข้อมูล เพราะอะไร "คูน" ถึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์ความต้องการของ "คุณ" ? เพื่อทราบรูปแบบการรักษาของรพ.คูน ซึ่งมุ่งหวังที่จะสร้างและเติมเต็มคุณภาพชีวิตและช่วงเวลาที่มีค่าของคนไข้และครอบครัวให้ดียิ่งขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายและความปรารถนาที่แท้จริงเฉพาะบุคคลอย่างเข้มข้มครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8