6 วิธีรับมือกับความสูญเสีย(Grief and Bereavement) เมื่อคนที่รักจากไป

"จาก" ไม่ได้แปลว่า "จบ" แค่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็นด้วยตา ไม่ได้แปลว่าลืม หรือไม่รู้สึก วันหนึ่งเราจะเติบโต คนที่จากไปก็แค่ย้ายมาอยู่ในความทรงจำของเรา ซึ่งจริงๆ ก็ไม่ได้จากไปไหนไกล แค่เปลี่ยนรูปแบบจากจับต้องได้เป็นเห็นภาพลางๆ กับความรู้สึกบางอย่างที่อาจจะยังชัดเจนอยู่ 

แพทย์หญิง นิษฐา เอื้ออารีมิตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคูน

การสูญเสียคนที่เรารักเป็นประสบการณ์ที่ยากจะรับมือ ความเศร้าและความเสียใจพร้อมเข้ามากระทบต่อความรู้สึกของเราทุกคนในทุกช่วงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตของพ่อแม่ คู่สมรส ลูกหรือเพื่อน ความเศร้าหรือความทุกข์ใจอาจทำให้เรารู้สึกหมดกำลังใจและอ้างว้างเดียวดาย อย่างไรก็ตาม การเข้าใจกระบวนการที่เกิดขึ้นจากความเศร้าและเรียนรู้ที่จะจัดการกับสภาพจิตใจ สามารถช่วยให้ก้าวข้ามผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไปได้

เข้าใจและรู้เท่าทันต่อ "ความโศกเศร้า" และ "การสูญเสีย"  

เมื่อคนๆหนึ่งเผชิญหน้ากับความโศกเศร้าและการสูญเสีย ช่วงเวลาที่คนจะเศร้าและดำดิ่งกับความรู้สึกนี้จะอยู่ประมาณ 2 เดือนแรก แต่ถ้าเกิน 6 เดือนอาจจะต้องได้รับดูแลทางด้านจิตใจ ซึ่งตามทฤษฎีทางจิตวิทยาซึ่งถูกระบุโดย Elizabeth Kubler-Ross จิตแพทย์ชาวสวิส-อเมริกันในหนังสือ"On Death and Dying" อธิบายถึง 5 ขั้นตอนของอารมณ์และความรู้สึกอันเกิดจากการพลัดพราก สูญเสียจากบุคคลอันเป็นที่รัก ประกอบไปด้วย

  1. การปฏิเสธและการตกใจ (Denial and Shock) เมื่อได้รับข่าวว่าคนที่คุณรักได้เสียชีวิตไป คุณอาจรู้สึกไม่เชื่อว่าเป็นจริง ปฏิเสธการยอมรับความเป็นจริงของความสูญเสีย โดยอาจรู้สึกตกใจ ช็อคและพยายามปฏิเสธไม่เชื่อต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

  2. ความโกรธและรู้สึกผิด (Anger and Guilt) เมื่อความตกใจเริ่มหายไป คุณอาจเริ่มรู้สึกโกรธหรือรู้สึกผิด ความผิดหวังเป็นอารมณ์ที่พบได้บ่อยในช่วงนี้เช่นกัน เนื่องจากคุณอาจรู้สึกว่าต้องรับผิดชอบในการเสียชีวิตของบุคคลนั้น หรือเสียใจเกี่ยวกับสิ่งที่คุณพูดหรือไม่พูดในช่วงเวลาที่ผ่านมา 

  3. การต่อรอง (Bargaining) หลังจากเกิดอารมณ์โกรธและรู้สึกผิด คุณจะเริ่มพยายามต่อรองกับสิ่งที่เกิดขึ้น ปฏิเสธความสูญเสีย เกิดความรู้สึกผิดหวังหรือเสียใจและอยากจะทำอะไรให้ผลลัพธ์ต่างออกไป

  4. ความหดหู่โศกเศร้า (Depression) ในขั้นนี้คุณอาจรู้สึกว่าเศร้ามากเกินไป หมดหวังและไม่สนใจชีวิต เกิดความรู้สึกเศร้าโศก หม่นหมองและว่างเปล่า จนอาจถอยห่าง ปลีกตัวออกจากผู้อื่นและต่อต้านการค้นหาความสุขในชีวิตของตัวเอง

  5. การยอมรับ (Acceptance) ในขั้นตอนสุดท้าย คุณจะเริ่มยอมรับความเป็นจริงต่อความสูญเสีย พบความสงบและรู้สึกพร้อมที่จะเดินหน้า เข้าใจและรู้ทันอารมณ์ของตนเอง เพื่อเดินหน้าต่อไปในชีวิต

โดยสภาวะอารมณ์ในแต่ละขั้นตอนเหล่านี้ไม่จำเป็นที่ต้องเกิดขึ้นตามลำดับที่ชัดเจนและแน่นอน บางคนอาจประสบแค่ไม่กี่ขั้นตอน ในขณะที่อีกคนอาจผ่านทุกขั้นตอนของความเศร้าและความสูญเสีย นอกจากนี้ผู้คนอาจเผชิญหน้ากับอารมณ์สลับไปมาระหว่างขั้นตอนหรือประสบไปพร้อมกันทุกขั้นตอนก็ได้ ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ลักษณะนิสัย ความคิด เพราะความเศร้าโศกเสียใจของบุคคลแต่ละคนมีไม่เท่ากัน แต่ถ้าเราเกิดสภาวะทั้ง 5 ขั้นตอนข้างต้นเราจะรับมือและจัดการกับความรู้สึกเหล่านั้นได้อย่างไร?

การรับมือและจัดการกับ"ความโศกเศร้า" และ "การสูญเสีย"

Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) ที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ ให้ความสำคัญต่อการดูแลสภาพร่างกายและจิตใจของสมาชิกในครอบครัวซึ่งกำลังเผชิญหน้ากับความสูญเสียและเศร้าหมอง ตามแนวทางของแพทย์ จิตแพทย์และนักกิจกรรมบำบัดที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเพื่อรับมือกับความรู้สึกที่ไม่สุขสบาย ดังนี้

  1. ยอมให้ตนเองได้เศร้าโศกเสียใจ สิ่งที่สำคัญคือการอนุญาตให้ตนเองเผชิญหน้ากับความรู้สึกและเศร้าโศกในวิธีของตนเอง อย่าพยายามยับยั้ง ปิดซ่อนหรือปฏิเสธความเศร้าโศกหรือกระตุ้นความเศร้าโศกให้เร็วขึ้น พูดคุยแสดงออกระบายในสิ่งที่คิด สิ่งที่รู้สึกออกมาอย่างเต็มที่

  2. แบ่งปันพูดคุยกับคนใกล้ตัว หาคนในครอบครัวและเพื่อนที่คุณสามารถพูดคุยและขอความช่วยเหลือได้ รวมถึงบุคคลที่เคยผ่านเหตุการณ์เหล่านี้มาก่อน โดยการพูดคุยกับบุคคลที่ผ่านประสบการณ์เดียวกันอาจทำให้คุณรู้สึกสบายใจและช่วยให้คุณรู้สึกไม่เหงาและอ้างว้างอีกต่อไป

  3. ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่ดี นอนพักผ่อนเพียงพอ และทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ หมั่นออกกำลังกายจะช่วยให้จัดการกับความเครียดและปรับปรุงอารมณ์ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

  4. ให้เวลาเยียวยาความรู้สึกของตนเอง มีความเมตตาต่อตนเองและไม่ตัดสินตัวเองว่ามีความรู้สึกอย่างไร ให้ระลึกเสมอว่าความเศร้าโศกเป็นปัจจุบันตามธรรมชาติที่ต้องพบเจอ เมื่อเกิดความสูญเสียและต้องใช้เวลาในการเยียวยาให้ดีขึ้น

  5. จดจำเรื่องราวของคนที่รัก ระลึกถึงคนที่คุณรักผ่านกิจกรรมหรือสิ่งของที่จะทำให้คุณนึกถึงพวกเขาได้ ซึ่งมีส่วนช่วยให้คุณรู้สึกเชื่อมโยงกับพวกเขาได้อีกครั้ง

  6. ปรึกษาดูแลใจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากยังรู้สึกยากลำบากในการจัดการความโศกเศร้าและความสูญเสียสามารถขอคำแนะนำและคำปรึกษาจากแพทย์ จิตแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด ซึ่งจะช่วยให้รับมือกับความสูญเสีย เข้าใจความคิดความรู้สึกของตนเองได้ดีขึ้น

การสูญเสียคนที่เรารักเป็นหนึ่งในประสบการณ์ที่ท้าทายมากที่สุดที่เราจะต้องเผชิญหน้าและรับมือกับอารมณ์ความโศกเศร้า เสียใจ แต่เมื่อเรายอมรับและเข้าใจอารมณ์ของเราและมองหาความช่วยเหลือ คำแนะนำจากคนในครอบครัว แพทย์ จิตแพทย์และนักกิจกรรมบำบัด พร้อมกับดูแลเยียวยาจิตใจให้เข้มแข็งผ่าน 3 แนวทางการดูแลด้านสภาพจิตใจให้แก่ผู้สูงอายุและคนไข้ ด้วยแนวทางการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care ของ Koon "คูน" เพื่อจัดการกับความไม่สุขสบายทางจิตใจ เพื่อก้าวข้ามผ่านขั้นตอนของความเจ็บปวด ความสูญเสียและค้นหาความหมายและจุดมุ่งหมายใหม่ในการดำเนินชีวิตของเราได้ต่อไป

Reference:

เป็นเพื่อนเรียนรู้ ก้าวผ่านการสูญเสียและความโศกเศร้าไปด้วยกัน, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

Kubler-Ross, E., & Kessler, D. (2014). On grief and grieving: Finding the meaning of grief through the five stages of loss. Simon and Schuster.

Worden, J. W. (2009). Grief counseling and grief therapy: A handbook for the mental health practitioner. Springer Publishing Company.

Lindemann, E. (1944). Symptomatology and management of acute grief. American Journal of Psychiatry, 101(2), 141-148.

Shear, M. K. (2012). Grief and mourning gone awry: pathway and course of complicated grief. Dialogues in clinical neuroscience, 14(2), 119-128.

Parkes, C. M. (2013). Bereavement: Studies of grief in adult life. Routledge.

ปรึกษาและขอคำแนะนำการดูแลรักษาด้าน Palliative Care และการดูแลผู้สูงอายุกับคลินิกผู้สูงอายุ ที่ "คูน" ได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8