9 เทคนิคดูแลแม่อัลไซเมอร์สไตล์ นินทร์ นรินทรกุล ณ อยุธยา

หนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ โรคอัลไซเมอร์ ภัยเงียบของผู้สูงวัยทั่วโลก โรคนี้เป็นแล้วผู้ป่วยไม่สามารถรักษาให้หายได้ ทำได้เพียงประคับประคองอาการของโรคได้เท่านั้น ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องการความเข้าใจและต้องได้รับการดูแลด้วยความเอาใจใส่ การดูแลแบบ Palliative Care ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของทั้งคนไข้ และครอบครัว จึงเป็นทางเลือกที่เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในปัจจุบันคุณ นินทร์ นรินทรกุล ณ อยุธยา ช่างภาพแฟชั่น ที่มีผู้ติดตามบนโลกโซเชียลนับหมื่น เลือกที่จะใช้กิจวัตรประจำวันที่ดูเหมือนจะธรรมดาแต่แฝงไปด้วยความอบอุ่น มาบำบัด ชะลออาการโรคอัลไซเมอร์ ของ "แม่แต๋ว" อย่างใกล้ชิด 9 เทคนิคดูแลแม่อัลไซเมอร์ สไตล์นินทร์ นรินทรกุล ณ อยุธยา  มีอะไรบ้าง มาติดตามกัน

1. ให้อิสระ ทำในสิ่งที่ชอบ 

"แม่แต๋ว" รักการแต่งตัวและชอบสะสมผ้าไหม เสื้อผ้า เครื่องประดับ มาตั้งแต่สมัยสาวๆ คุณนินทร์เลยจัดการเอาเสื้อผ้าเก๋ๆ ของแม่ มาแมตช์ให้โมเดิร์นกว่าเดิม แม่แต๋วเริ่มสนุกกับการแต่งตัวมากขึ้น และก็กลับมาสดใสมากขึ้นเช่นกัน คุณนินทร์เอง นอกจากจะเริ่มสนุกกับการได้แต่งตัวให้แม่แต๋วแล้ว ก็เป็นการบำบัดความเครียดให้ตัวเองทางหนึ่งได้แบบไม่รู้ตัว

“เราสนุกกับการได้เห็นเขาแต่งตัว เรารู้สึกว่าเขาป่วยแบบสนุก ไม่ได้ป่วยแบบทุกข์”

2. เจอเพื่อนฝูง เจอคนที่คุ้นเคย

ถึงโรคอัลไซเมอร์จะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันบ้าง คุณนินทร์ก็ไม่อยากให้แม่แต๋วต้องนอนอยู่บ้าน ดูแต่ทีวี เลยพยายามพาแม่แต๋วออกไปข้างนอกบ่อยๆ โดยเฉพาะพาไปเจอเพื่อนฝูง หรือคนที่คุ้นเคย แม่แต๋วก็จะดูผ่อนคลายขึ้น ได้พูดคุย ได้ยิ้ม ได้หัวเราะ ก็จะเป็นวันดีๆ ที่แม่แต๋วอารมณ์ดี 

3. พาออกไปเที่ยวดูโลกกว้าง

ถ้ามีเวลา คุณนินทร์ก็จะการพาแม่แต๋วออกไปเที่ยวเปลี่ยนบรรยากาศ  ได้สูดอากาศดีๆ ได้เดินเยอะๆ ออกกำลังกาย นอกจากนั้น การได้พบเห็นสถานที่ใหม่ๆ พบเจอกับประสบการณ์ และสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ช่วยชะลอโรคทางสมองได้ถือว่าเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยเสริมให้สุขภาพสมองมีความว่องไวปราดเปรียวขึ้น  

4. กินของที่ชอบ แต่ก็ต้องดีมีประโยชน์

การกินของอร่อยๆ เป็นความสุขเล็กๆของเเม่แต๋ว แน่นอนว่าอาหารที่ดีมีผลต่อสภาพจิตใจ เวลาแม่ได้ทานของอร่อยๆ ใจก็จะฟูขึ้น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการทางสมอง หากได้รับอาหารที่มีโภชนาการที่ดี จะช่วยให้กระบวนการรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น เพราะสารอาหารจะช่วยบำรุงสมอง และเยียวยาจิตใจแต่อร่อยอย่างเดียวคงไม่พอ ต้องมีประโยนช์ทางโภชนาการด้วยไม่มากก็น้อย

5. ออกไปซื้อของ ใช้ชีวิตตามปกติ

คุณนินทร์ไม่อยากให้ตัวโรคอัลไซเมอร์มาจำกัดการใช้ชีวิตของแม่แต๋ว เลยพยายามให้แม่แต๋วได้ใช้ชีวิตประจำวันเหมือนปกติมากที่สุด ไม่ว่าจะออกไปเจอเพื่อน ทานข้าว ช้อปปิ้ง หรือการซื้อของเข้าบ้านถือว่าเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศไปเรื่อยๆ ไม่ให้แต่ละวันน่าเบื่อสิ่งที่สำคัญไปกว่านั้น คุณนินทร์อยากให้แม่แต๋วเกิดความภาคภูมิใจ รู้สึกมีคุณค่า และมีความมั่นใจมากขึ้นเป็นการเตือนความจำและให้แม่แต๋วสามารถทบทวนได้ด้วยตนเองอยู่ตลอด

6. เขียนไดอารี่ ฝึกสมอง ช่วยกระตุ้นความจำ

การเขียนเป็นวิธีหนึ่งที่ในการช่วยฝึกสมอง และพัฒนาความจำ ในแต่ละวันคุณนินทร์พยายามให้แม่แต๋วเขียนจดบันทึก ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น และบันทึกตามความเข้าใจ ช่วยให้แม่แต๋วได้ฝึกสมอง ลดการการหลงลืม ฝึกการคิดอย่างเป็นระบบ และยังเป็นการบันทึกเรื่องราวแต่ละวัน ที่สามารถกลับมาอ่านเมื่อไหร่ก็ได้

7. ใช้เวลากับสัตว์เลี้ยงตัวโปรด

ถึงความจำบางเรื่องจะถดถอย แต่แม่แต๋วก็ไม่เคยลืมเจ้า "โจรสลัด" สัตว์เลี้ยงตัวโปรด การได้ใช้เวลากับเจ้าสัตว์เลี้ยงตัวโปรด ไม่ว่าจะอุ้มมันมานั่งตัก ลูบหัว ให้อาหาร หรือแม้แต่นั่งข้างๆ ก็ส่งทางอารมณ์ไม่มากก็น้อย เช่น จิตใจสงบลง มีอารมณ์ดีขึ้น ถึงแม้ว่าการใช้สัตว์เลี้ยงบำบัดกับโรคอัลไซเมอร์จะถูกใช้เพื่อชะลออาการของผู้ป่วยมานานพอควรในต่างประเทศ แต่สิ่งที่สำคัญก็คือการให้ความสำคัญกับภูมิหลังของผู้ป่วยด้วยว่าชอบ หรือไม่ชอบสัตว์ชนิดใดมาก่อนหรือไม่

8. หาหมอเป็นประจำ ตรวจสุขภาพสม่ำเสมอ

สำคัญในการดูแลผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์นั้นก็คือ การคอยสังเกตอาการ หรือพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป พยายามบันทึกอาการต่างๆ และแจ้งให้แพทย์ทราบ เมื่อถึงเวลานัด แต่หากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติ เช่น อาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้ามากเกินไป พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ก้าวร้าว หูแว่วให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที ซึ่ง Koon "คูน" มีความเชี่ยวชาญการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) ที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ สามารถศึกษาและทำความเข้าใจการรักษาผ่าน 4 ข้อควรรู้เกี่ยวกับการรักษาแบบ Palliative Care เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการรักษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตและเวลาที่ดีสำหรับคนไข้และครอบครัว

9. ใช้เวลาด้วยกัน ให้ทุกๆ วันมีความหมาย

ถึงแม้งานจะยุ่งแค่ไหน แต่สิ่งที่คุณนินทร์ทำเสมอก็คือการใช้เวลากับแม่แต๋วให้ได้มากที่สุด การทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ด้วยกันไม่ว่าจะนั่งทานข้าว รดน้ำต้นไม้ เล่นกับโจรสลัด หรือออกไปทานกาแฟหน้าปากซอย ก็เป็นการทำให้แต่ละวันของคุณนินทร์และแม่แต๋วมีความหมาย การแสดงความรัก ความห่วงใย ไม่ว่าการจับมือ การกอด และการพูดคุย จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน

"การที่ได้อยู่กับแม่แต๋ว ได้ดูแลท่านในทุกๆ วัน ก็น่าจะช่วยให้แม่แต๋วไม่ลืมกันเร็วเกินไป"

ปรึกษาและขอคำแนะนำการดูแลรักษาด้าน Palliative Care และการดูแลผู้สูงอายุกับคลินิกผู้สูงอายุ ที่ "คูน" ได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8