บำบัดใจด้วยเสียงดนตรี (Music Therapy)

บำบัดใจด้วยเสียงดนตรี (Music Therapy)

ดนตรีบำบัด หรือ Music Therapy เป็นศาสตร์การดูแลสุขภาพแขนงหนึ่งที่มุ่งเน้นการใช้ดนตรี เสียงเพลง และกิจกรรมดนตรี เพื่อเสริมสร้างสุขภาพทางร่างกาย จิตใจ และทักษะต่างๆ เช่น การสื่อสาร สังคม และการเรียนรู้ให้ดีขึ้น จากการศึกษางานวิจัย พบว่า ดนตรีบำบัดเป็นศาสตร์การดูแลหนึ่งที่นำมาใช้ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์ โดยกิจกรรมดนตรีบำบัดมีประโยชน์คลอบคลุมทั้งร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และจิตวิญญาณ

การฟังเพลงที่คนไข้ชื่นชอบช่วยเพิ่มความผ่อนคลายและลดความทุกข์ทรมานทางกาย เช่น ปวด คลื่นไส้อาเจียน เหนื่อย อ่อนเพลีย เพิ่มคุณภาพชีวิต ปรับสภาพอารมณ์ ลดความเครียด คลายความกังวล รวมถึงส่งเสริมการค้นหาความมุ่งหมายและความคาดหวังในการใช้ชีวิต ซึ่งการใช้เพลงที่คนไข้มีความคุ้นเคยและมีประสบการณ์ร่วมมีส่วนช่วยให้คนไข้และครอบครัวได้ระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต ทำให้สมาชิกในครอบครัวเล่าถึงเรื่องราวในอดีตที่มีช่วงเวลาที่ดีร่วมกัน และอาจนำมาสู่การกล่าวขอโทษ อำลา และขอบคุณ


ก่อนจะเริ่มกิจกรรมดนตรีบำบัด คนไข้และครอบครัวจะได้รับการสอบถามประสบการณ์และความชอบทางดนตรีของคนไข้ ข้อมูลดนตรีที่จะได้มานี้ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่อการวางแผนการบำบัด ในกรณีที่คนไข้หรือครอบครัวรู้สึกยาก นักดนตรีบำบัดจะมีวิธีการช่วยค้นหาข้อมูลดนตรีของคนไข้และพิจารณาตามเป้าหมายการดูแล เช่น กิจกรรมฟังเพลงเพื่อเพิ่มความผ่อนคลาย กิจกรรมเลือกเพลงเพื่อสร้างสภาพอารมณ์ที่ดี กิจกรรมดนตรีทบทวนชีวิตเพื่อสร้างความรู้สึกมีคุณค่าและสร้างภาพความทรงจำที่ดี เป็นต้น

ในการเข้ารับบริการดนตรีบำบัด คนไข้ไม่จำเป็นต้องมีความสามารถทางดนตรี ก็ยังได้รับประโยชน์จากบริการดนตรีบำบัดได้เช่นกัน ซึ่งดนตรีบำบัดเป็นศาสตร์ที่ Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาด้าน Palliative Care (แบบประคับประคอง) ที่มุ่งเน้นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดยเฉพาะคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ ให้ความสำคัญ นักดนตรีบำบัดของเราจะเข้าไปทำการสื่อสารกับคนไข้ และครอบครัวแต่ละห้อง เพื่อเก็บข้อมูลเบื้องต้น และนำมาออกแบบรูปแบบกิจกรรมไปตามแต่ความชอบ หรือความต้องการของแต่ละบุคคล เพราะเราเชื่อว่าดนตรีจะเป็นสื่อหนึ่งที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว สร้างบรรยากาศที่ดี ลดความตึงเครียดให้มีจิตใจ และอารมณ์ที่เบิกบานยิ่งขึ้น

ดังนั้นแม้ว่าดนตรีบำบัดจะไม่สามารถรักษาคนไข้ให้หายจากโรคได้ แต่ดนตรีจะช่วยฟื้นฟูสภาพจิตใจให้กับคนไข้รวมทั้งครอบครัวมีกำลังใจ เสริมสร้างพลังใจ ผ่อนคลายจากความเครียด และลดความวิตกกังวลต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่ง Koon "คูน" ได้จัดสรรพื้นที่ส่วนกลางต่างๆ เช่น Meditation Room , ระเบียงพื้นที่กิจกรรมท่ามกลางธรรมชาติ รวมทั้งสวนสงบท่ามกลางธรรมชาติ สำหรับเปิดพื้นที่ให้คนไข้และครอบครัวได้ใช้ช่วงเวลาดีผ่านเสียงเพลงควบคู่ไปกับการดูแลและเยียวยาสภาพจิตใจของคนไข้ผ่าน 3 แนวทางดูแลสภาพจิตใจสำหรับคนไข เพื่อทำให้คนไข้ได้ฟื้นฟูจิตใจให้พร้อมรับการดูแลรักษาต่อไป

อ้างอิง

  • World Federation of Music Therapy. Info Card [Internet]. 2022 [cited 2022 Aug 13]. Available from: https://wfmt.info/wfmt-for-students-2020-2023/info-cards/.

  • Hilliard RE. The effects of music therapy on the quality and length of life of people diagnosed with terminal cancer. Journal of Music therapy. 2003;40(2):113-37.

  • ภุชงค์ ฉิมพิบูลย์, พรพรรณ แก่นอำพรพันธ์. ดนตรีบำบัดสำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2560;15(3):371-8.

ปรึกษาและขอคำแนะนำการดูแลรักษาด้าน Palliative Care ที่ "คูน" ได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8