4 กิจกรรมดูแลสุขภาพสมองสำหรับคนไข้โรคสมองเสื่อม

โรคสมองเสื่อม(Dementia) หนึ่งในโรคที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ ทำให้คนไข้มีอาการสูญเสียความทรงจำ จดจำเรื่องราวต่างๆได้ลดลง และความสามารถในการควบคุมอารมณ์ ความคิดและความรู้สึกของตัวเองได้ไม่ดีอย่างที่เคยเป็น ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการดูแลและเอาใจใส่จากคนในครอบครัว โดยสามารถเริ่มจากการหากิจกรรมต่างๆที่มีส่วนช่วยในการชะลอการดำเนินโรค รวมทั้งกระตุ้นสมองและบริหารความคิดความจำต่างๆ กิจกรรมเหล่านี้นอกจากจะทำให้คนไข้ได้ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ลดความตึงเครียด และอาการวิตกกังวลแล้ว ยังทำให้ผู้ที่ดูแลได้ใช้ช่วงเวลาเก็บความทรงจำดีๆ สร้างสายสัมพันธ์ที่อบอุ่นระหว่างกันในครอบครัว

การรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนไข้และครอบครัวอย่างเข้มข้นทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ โดย Koon "คูน" ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการดูแลรักษาโรคสมองเสื่อม รวมทั้งคนไข้ในกลุ่มโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดและอาการของโรคนั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคนไข้ให้ลดลงและไม่ดีอย่างที่เคย ผู้ป่วยระยะสุดท้ายและระยะลุกลาม เช่น โรคมะเร็งระยะสุดท้าย โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม โรคพาร์คินสัน โรคหัวใจเรื้อรัง โรคปอด โรคไตระยะท้าย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคตับแข็งระยะท้าย ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยไอซียู(ICU) ที่เข้าออกรพ.บ่อยครั้ง ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด ฯลฯ ได้รวบรวม 4 กิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับคนไข้โรคสมองเสื่อม ที่สามารถเริ่มทำได้ง่ายๆในชีวิตประจำวันครอบคลุมตั้งแต่การบริหารสุขภาพของสมอง กระตุ้นความคิดและความจำทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ดังนี้

  1. อ่านหนังสือกระตุ้นความจำ การเปิดโอกาสให้คนไข้ได้ทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นความทรงจำและการคิดเป็นประจำ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพของสมองและชะลอการดำเนินโรคสมองเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผลวิจัยของ Journal of the American Medical Association ระบุว่าการอ่านหนังสือหรือการเล่นทายปริศนาระหว่างกันเป็นประจำมีส่วนช่วยในการลดการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้มากถึง 30-50%

  2. ออกกำลังกายเคลื่อนไหวเป็นประจำ การออกกำลังกายและขยับร่างกายเป็นประจำมีส่วนสำคัญในการดูแลสุขภาพของสมองและป้องกันความเสี่ยงของโรคสมองเสื่อม โดยงานวิจัย Journal of Aging and Physical Activity ได้แนะนำว่าคนไข้ที่ขยับร่างกายและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการดำเนินโรคของโรคสมองเสื่อมไม่ให้แย่ลงได้เมื่อเปรียบเทียบกับคนไข้ที่มักไม่เคลื่อนไหวร่างกาย นอกจากนี้บทวิเคราะห์ของ British Journal of Sports Medicine ยังพบว่าการทำกิจกรรมต่างๆที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวอย่างเป็นประจำ เช่น เดินแกว่งแขน บริหารร่างกายเบาๆขณะนั่ง ช่วยให้ลดความเสี่ยงของการเกิดอาการสมองเสื่อมได้สูงถึง 30%

  3. เข้าสังคมหากิจกรรมทำกับคนคุ้นเคย หนึ่งในกิจกรรมที่ช่วยลดและชะลอความเสี่ยงของความจำที่ถดถอยและก่อให้เกิดภาวะสมองเสื่อม คือ การเข้าสังคม ออกไปทำกิจกรรมกับคนคุ้นเคย ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนสนิทหรือญาติพี่น้อง ซึ่งนอกจากจะทำให้จิตใจของคนไข้ดีขึ้น ลดความตึงเครียดแล้วยังช่วยให้คนไข้ไม่เกิดความรู้สึกเหงา โดดเดี่ยวอ้างว้าง ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย Journal of the International Neuropsychological Society พบว่าการที่คนไข้ได้มีโอกาสเข้าสังคมอยู่เป็นประจำช่วยให้การดำเนินโรคของภาวะสมองเสื่อมชะลอลงและคนไข้มีสภาพร่างกายและจิตใจที่ดีขึ้น

  4. ทำอาหารบำรุงสมองรับประทานสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารที่ดีและมีประโยชน์ต่อสมองช่วยให้ลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้สด โฮลเกรน อาหารที่มีไขมันต่ำ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ 5 อาหารดูแลผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม โดยครอบครัวผู้ดูแลสามารถสร้างช่วงเวลาดีๆ เพื่อสร้างสายสัมพันธ์ระหว่างกันให้คนไข้ผ่านการทำอาหารที่มีประโยชน์เหล่านี้ร่วมกัน นอกจากจะช่วยให้คนไข้ได้เคลื่อนไหวร่างกายแล้วยังช่วยให้กระตุ้นและพัฒนาสมองได้ไปพร้อมๆกัน

จะเห็นได้ว่ากิจกรรมเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีข้างต้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างสภาพแวดล้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคมที่ดีต่อคนไข้ ควบคู่ไปกับการวางแผนการรักษาแบบประคับประคอง หรือ Palliative Care ที่มุ่งเน้นการการเพิ่มคุณภาพการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านสมอง ชะลอการดำเนินโรค เติมเต็มคุณค่าและความหมายในชีวิตของคนไข้ โดย คลินิกผู้สูงอายุของ "คูน" พร้อมให้บริการดูแลผู้สูงอายุด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ พร้อมให้คำปรึกษาทางโภชนาการ รวมถึงการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ด้วยการวางแผนแนวทางการรักษาแบบปัจเจกบุคคล ให้ตรงกับความต้องการของแต่ละท่าน เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ครบทุกมิติ

ปรึกษาและขอคำแนะนำการดูแลรักษาด้าน Palliative Care และการดูแลผู้สูงอายุกับคลินิกผู้สูงอายุ ที่ "คูน" ได้ที่

เบอร์โทรศัพท์ : 02-405-3899 หรือ คลิกเพื่อลงทะเบียนนัดหมายรับคำปรึกษาจากแพทย์

Facebook : https://www.facebook.com/koonhospital
LINE Official : https://lin.ee/XqcpBmP
Maps : https://goo.gl/maps/xAMCi2jLC8SpSzfk8

Reference:

Alzheimer's Association. (2020). Cognitive Stimulation and Dementia: A Review of the Evidence

Blondell, S. J., et al. (2014). Exercise and Cognitive Function

Kramer, A. F., & Erickson, K. I. (Eds.). (2015). Exercise and Cognitive Function

Saczynski, J. S., et al. (2010). Social Engagement and Cognitive Decline in Older Men: The Health Professionals Follow-up Study

Morris, M. C., & Tangney, C. C. (2015). Mind Diet and Dementia